วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
                ปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง  เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง  เช่น  เดินทางทางอวกาศ  ใช้ในทางการไปรษณีย์  ในการประชุมสัมมนานานาชาติ  และใช้ในด้านพาณิช   ธุรกิจ  ตลอดจนในการศึกษา  รวมทั้งเป็นภาษาอุตสาหกรรม  จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย  เพื่อการโต้ตอบระหว่างคนทั่วโลก  จากการที่การคมนาคมสื่อสารเจริญรุดหน้าไปมาก  การแปลจึงทวีความสำคัญมาก  ผู้ที่ทำการติดต่อนั้นบางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ  จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปลงานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้  นอกจากนี้นักแปลยังสามารถนำชื่อเสียงมาสู่ตนเองได้  เช่น  การแปลนวนิยายและสาระบันเทิงคดีต่างๆ
                การใช้ภาษาต่างประเทศในหน่วยงานต่างๆ  ที่เพิ่มขึ้นทุกทีปรากฏว่าภาษาอังกฤษมีปริมานการใช้มากที่สุด  ทั้งนี้เป็นเพราะ
                1. หน่วยงานต่างๆ  ได้ขยายปริมาณ  เช่น  เปิดสอนภาษาอังกฤษให้กับหน่วยงานอื่นๆหรือเปิดแผนกเพิ่มขึ้น
                2. มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น  และใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
                3. มีตำรา  เอกสารภาษาอังกฤษซึ่งเป็นแหล่งวิทยาการหลายสาขา

                การแปลในประเทศไทย
                                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส  จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก  มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และมีการสอนวิชาภาษาอังกฤษในพระราชสำนัก
                                การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย  ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่  ทำให้มีการติดต่อและเดินทางถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว  โดยเฉพาะประเทศที่กำลังจะพัฒนา
                                งานแปลของไทยก็เช่นเดียวกัน  จากการที่เรามีบริษัทตัวแทนในการค้าขายจากต่างประเทศ  มีผู้เชี่ยวชาญ  และที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ  ตลอดจนมีการท่องเที่ยวที่นำเงินรายได้ให้กับประเทศทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เพื่อให้ประชาชนผู้ได้รับความช่วยเหลือและเกี่ยวข้องดังกล่าวได้ใช้ระโยชน์จากสิ่งที่ได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง
                                การผลิตงานแปล  ผู้แปลอาจจะตั้งเป็นองค์การ  เป็นแผนก  หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ  เช่น  ให้งานนักศึกษาแปลด้วยกัน  นักศึกษาแปลทั้งหมดก่อนแล้วส่งให้นักแปลตรวจแก้ไขอีกครั้ง  เพื่อช่วยฝึกฝนการแปลให้นักศึกษา
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย  เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ  และอีกประการหนึ่งการแปลมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม (Cultural  background)  ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดเวลา  ศัพท์บางคำหาคำเทียบในภาษาไทยไม่ได้จริงๆ

การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา  การใช้ภาษา  รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ  เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว  โดยได้รับหารฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ

การแปลคืออะไร
                การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง  โดยให้มีภาษาครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ  ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น  อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกด้วย
                ปราณี  บานชื่น  ได้ให้ความหมายของการแปลไว้ดังนี้  คือ
1.    การแปลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อภาษาคือ  เอาข้อความที่เขียนด้วยภาษาหนึ่งไปใช้แทนที่ข้อความที่เขียนด้วยอีกภาษาหนึ่ง
2.    การแปลเป็นทักษะพิเศษ  เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
3.    ผู้แปลจะต้องสามารถถ่ายต่อความคิดจากต้นฉบับออกมาเป็นภาษาที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแบะครบถ้วน  ได้แก่   โครงสร้างถ้อยคำสำนวน  และรู้เนื้อหาของเรื่องที่แปลได้อย่างลึกซึ้ง

คุณสมบัติของผู้แปล
                เนื่องจากการแปลเป็นทักษะและศิลปะที่มีกระบวนการที่กระทำต่อภาษา  ผู้แปลจึงควรมีลักษณะดังนี้
1.   เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.  สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นอย่างเข้าใจ
3.  เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา  มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4.  เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี  หรือภาษาศาสตร์
5.  ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้  รักเรียน  รักอ่าน  และรักการค้นคว้าวิจัย
6.  ผู้แปลต้องมีความอดทนและความเสียสละ  เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องใช้แรงความคิดและเวลา
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือ  สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม
สรุปได้ว่าผู้เรียนจะต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1.   รู้ลึกซึ้งในเรื่องภาษา  มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดี  มีความสามารถในการใช้ภาษา
2.   รักการอ่าน  ค้นคว้า
3.   มีความอดทน  มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4.   มีความรับผิดชอบ  รู้จักใช้ความคิดของตนเอง
นักแปลที่มีคุณภาพหมายถึง  นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วนโดยไม่ขาดหรือไม่เกิน
               
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.    เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปล  คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ  เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดในหลักสูตรว่าควรจะสอนอะไร
2.     การสอนแปลให้ได้ผล  ตามทฤษฎีวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะ  ทักษะ  คือทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน
3.     ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง  มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง   เนื่องจากกระบวนการอ่านข้อความของภาษหนึ่งแล้วถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นอีกภาษาหนึ่งนั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมาก  ผู้แปลจึงต้องมีประสบการณ์และการค้นคว้าเป็นส่วนใหญ่
4.   ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพเพื่อเป็นการเตรียมตังก่อนจะไปประกอบอาชีพ
Etiene  Dolet  ได้สรุปหลักสำคัญในการแปลไว้  ประการคือ
1.    ผู้แปลจะต้องเข้าใจเนื้อหาที่จะแปล  รวมทั้งความตั้งใจของผู้เขียนต้นฉบับอย่างถ่องแท้
2.    ผู้แปลจะต้องมีความรู้ภาษาทั้งสองอย่างดีเยี่ยม
3.    ผู้แปลควรจะหลีกเลี่ยงการแปลคำต่อคำ  เพราะจะทำให้ต้นฉบับผิดไปรวมทั้งจะได้สำนวนภาษาที่ไม่สละสลวย
4.    ผู้แปลควรจะใช้ภาษปัจจุบันในการแปล
5.    ผู้แปลควรจะใช้ระดับของภาษาที่ตรงกันกับต้นฉบับ
Campbell  สรุปว่าการแปลที่ดีจะต้องมีหลัก 3 ประการคือ
1.   เป็นการแปลที่ตรงกับต้นฉบับทุกประการ
2.   ใช้ภาษาที่ตรงกับต้นฉบับ  และเข้าใจความคิดและพฤติกรรมของผู้เขียนต้นฉบับ
3.   ในการแปลจะต้องเป็นธรรมชาติและดูง่าย
Alexander  Fraser  Tytler  ได้ให้หลักในการแปลไว้ดังนี้
1.   การแปลนั้นต้องได้ความคิดครบถ้วนตรงคามต้นฉบับ
2.   แบบของการเขียนเป็นแบบเดียวกันกับภาษาในต้นฉบับ
3.   การแปลควรจะต้องอ่านง่ายและตรงตามต้นฉบับ

บทบาทของการแปล
                ในการสื่อสารระบบนี้มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารขบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเรื่องพิเศษ  เพราะในการสื่อสารที่มีผู้รับสารเป็นผู้รับสารคนแรกโดยตรงคนเดียวก็ยังอาจจะเกิดการบกพร่อง  ผู้แปลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก  เพราะผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร  ซึ่งในการส่งสารแบบนี้จะต้องประสบกับความแตกต่างทั้งในด้านการใช้ภาษา  ความรู้  อาชีพ  สังคม  วัฒนธรรม  และขนบธรรมเนียม  ประเพณี

คุณสมบัติของนักแปล
1.             คุณสมบัติส่วนตัว
1.1      มีใจรักงานแปล
1.2      รักการอ่าน
1.3      มีความสามารถในการอ่าน
1.4      มีความตั้งใจและมั่นใจสูง
1.5      มีความละเอียดรอบคอบ  และระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำและภาษา
1.6      มีจรรยาบรรณของนักแปล
1.7      มีความรู้ดี  เฉลียวฉลาด
1.8      มีจิตใจกว้างขวางยอมรับฟังความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น
2.             ความรู้
2.1      มีความรู้ในภาษาทั้งสองอย่างดี
2.2      มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง
2.3      รักการค้นคว้าหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆเพิ่มเติมตลอดเวลา
2.4      มีความรอบรู้เฉพาะตัวเกี่ยวกับงานที่แปล
2.5      มีความรู้ภูมิหลังเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชาติที่เป็นเจ้าของภาษาต้นฉบับ
3.             ความสามารถ
3.1      สามารถตีความภาษาต้นฉบับได้อย่างดี
3.2      มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้
3.3      มีความสามารถในการส่งสาร
3.4      มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
3.5      มีความสามารถในการแบ่งขั้นตอนในการแปล
4.             ประสบการณ์
4.1      ฝึกฝนการแปลอยู่เสมอ
4.2      มีความรู้ในงานหลายสาขา
4.3      มีวามเข้าใจในระบบงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่แปล

ลักษณะของงานแปลที่ดี
                ลักษณะงานแปลที่ดีควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับ  ใช้ภาษาที่จัดเชนกระชับความ  ใช้รูปประโยคสั้นๆ  และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคม  เพื่อให้ผู้อ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ

ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.             ภาษาไทยที่ใช้งานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ  ไม่ติดสำนวนฝรั่ง  ใช้ศัพท์เฉพาะภาษา
2.             สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาได้
3.             ใช้การแปลแบบตีความ  แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่

สรุปคุณสมบัติของผู้แปล
1.             เป็นผู้ที่มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลดี
2.             เป็นผู้ชอบค้นคว้าหาความรู้ในวิชาการแขนงอื่นๆ 
3.             เป็นผู้มีวิจารญาณในการแปล
4.             เป็นผู้มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5.             เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาให้การแปลได้อย่างแท้จริง


การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน  การให้ความหมายมี  ประการคือ
1.             การแปลที่ใช้รูปแบบประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.             การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
การใช้ปัจจุบันกาล  ให้พิจารณารูปแบบของกาล  กาล  คือ  ปัจจุบันกาล (Simple  Present)  และอนาคตกาล (Progressive  Present)  ความหมายของปัจจุบันกาลจะปรากฏในโครงสร้างของประโยคดังนี้  คือ
ก.      เป็นการกระทำที่เป็นนิสัย (Habitual  action)
ข.      เป็นการกระทำตามกฎธรรมชาติ (Natural  law)
ค.      สถานภาพของปัจจุบันกาล (             The  Simple  Present  of  State)
ง.       อนาคตกาล (Future  action)
จ.       ปัจจุบันกาล (The  Simple  Present)
ฉ.      การเล่าเรื่องที่เกิดในปัจจุบัน (The Narrative  Present)
การแปลอังกฤษเป็นไทย  ต้องคำนึงถึงความหมาย  ประการดังนี้
1.             อนาคตกาล (Progressive  Present)  การแปลที่ต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาล (Simple  Present)  และอนาคตกาล (Progressive  Present) 
2.             โครงสร้างประโยคอื่นๆ  ในการแปลแบบของกาลในภาษาอังกฤษ  รวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์  มีบางอย่างที่ยาก
3.             ศัพท์เฉพาะ (Lexis)  การแปลความหมายตามศัพท์จะดูง่าย  แต่ถ้าเป็นเรื่องของโครงสร้างจะมีศัพท์ที่แปลตามคำแล้วไม่ใกล้เคียงกัน
4.             ตีความทำนาย (Interpretation  of  the  Facts-a  prediction)  สิ่งที่สำคัญก็คือ  การแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายทั่วๆไปมากกว่าการให้คำเหมือน  หรือให้ความหมายเหหมือนกับในรูปประโยคที่ต่างกันในภาษาเดียวกัน

การแปลกับการตีความจากบริบท
                        ความใกล้เคียง  (Context)  และความคิดรวบยอด (Concept)  ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน (paraphasing)  แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ

การวิเคราะห์ความหมาย

องค์ประกอบของความหมาย
1.    คำศัพท์  ถือคำที่ตกลงยออมรับกันของผู้ใช้ภาษาซึ่งจะมีคำศัพท์เป็นจำนวนมากในการสื่อความหมาย
2.   ไวยากรณ์  หมายถึงแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา  เพื่อให้เป็นประโยคที่ยังมีความหมาย
3.    เสียง  ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นสียงที่มีความหมาย  เช่น  เสียงสระ  เสียงพยัญชนะ

ความหมายของรูปแบบ
1.    ในแต่ละภาษา  ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกหลายรูปแบบ  เช่น  ในรูปประโยคที่ต่างกัน  หรือใช้คำที่ต่างกัน
2.    รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย  ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ

ประเภทของความหมาย
                นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทความหมายไว้  ประเภทด้วยกัน
1.    ความหมายอ้างอิง (referential  meaning)  หรือความหมายโดยตรง (denotative  meaning)  ความหมายอ้างอิงหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ทั้งที่เป็นรูปธรรม-และนางธรรม  หรือเป็นความคิด  มโนภาพ
2.    ความหมายแปล (Connotative  meaning)  หมายถึง  ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน  ผู้ฟัง  ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวก  หรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3.    ความหมายตามบริบท (Contextual  meaning)  รูปแบบหนึ่งๆ ของภาษาจะมีความหมายได้หลายความหมายต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมดจึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อ
4.    ความหมายเชิงอุปมา (figurative  meaning)  เป็นคามหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย  และการเปรียบเทียบโดยนัย

การเลือกบทแปล
                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล  เช่น  แนวคิดให้แปลงานเขียนประเภทต่างๆ  เช่น  แปลข่าว  สารคดี  โดยคำนึงถึงการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล  และให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษา  และเนื้อหาไปด้วย

เรื่องที่จะแปล
                เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขา  มีทั้ง  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  มนุษยศาสตร์  วรรณกรรม  ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย  จึงควรมีคณะกรรรมการแปลระดับชาติ  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขาวิชาใหญ่ๆ  เป็นแกน  คือกรรมการและมีอนุกรรมการ  การแปลหนังสือวิชาสาขาต่างๆ  จะเป็นการกำจัดอุปสรรคความรู้ภาษาต่างประเทศได้ไม่ดีพอ  และจะสามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
                โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา  โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย  ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น  เราจะล้มเหลวในการสื่อสารและพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้  ในบทความนี้ผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นความแตกต่างทางโครงสร้างภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มักก่อให้เกิดปัญหากับนักแปล  โดยจะเปรียบเทียบให้เห็นประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญและโครงสร้างของประโยคประเภทต่างๆ  ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการแปลได้  บทความนี้มีตัวอย่างจำนวนมาก  ผู้เขียนยกตัวอย่างเพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษในประเด็นต่างๆ  และบางข้อเป็นข้อความที่คัดหรือดัดแปลงมาจากหนังสือที่เป็นผลงานแปลหลายเล่มดังมีชื่อเรื่องปรากฏในบรรณานุกรมท้ายบทความ
1.    ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
           ชนิดของคำ (parts  of  speech)  เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
1.1   คำนาม
              ประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย  ได้แก่  บุรุษ,  พจน์,  การก,  ความชี้เฉพาะ  และการนับได้
1.1.1      บุรุษ (person)
            เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง  ผู้พูด  ผู้ที่ถูกพูดด้วย  หรือผู้ที่ถูกพูดถึง
1.1.2       พจน์ (person)
            เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน  ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง  หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
1.1.3      การก (case)
             คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร  คือ  สัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร  เช่น  เป็นประธาน  กรรม  สถานที่  เป็นต้น
1.1.4      นามนับกับนามนับไม่ได้ (countable  and  uncountable  nouns)
            คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น  นามนับได้  และนับไม่ได้  ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม
1.1.5      ความชี้เฉพาะ (definiteness)
            ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ  แต่ไม่สำคัญในภาษาไทยได้แต่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ  ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนจะเรียนรู้ลักษณะนี้ตั้งแต่เริ่มหัดพูดภาษาอังกฤษ
1.2      คำกริยา
               คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค  การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม  เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1       กาล (tense)
               คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดง  กาล  เสมอว่าเป็นอดีต  หรือไม่ใช่อดีต  ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล  เพราะโลกทัศน์ของพวกเขาแยกความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในอดีตกับไม่ใช่อดีต
1.2.2       กาลลักษณะ (aspect)
              หมายถึงลักษณะของการกระทำ  หรือเหตุการณ์  เช่นการดำเนินอยู่ของเหตุการณ์  การเสร็จสิ้นของการกระทำ  การเกิดซ้ำของเหตุการณ์  เป็นต้น
1.2.3       มาลา(mood)
              เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา  มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร  ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลา  แต่ในภาษาอังกฤษมี  เช่น  ประโยคสมมติที่เป็นไปไม่ได้  ประโยคคาดคะเน  หรือประโยคที่เปรียบเทียบบางสิ่งว่าเสมือนอีกสิ่ง  กริยาจะไม่ใช้รูปธรรมดา
1.2.4       วาจก(voice)
              เป็นประเทศทางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา  ว่าประธานเป็นผู้กระทำ  หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
1.2.5      กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite  vs.  non-finite)
             คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น  ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ
1.3      ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา  และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา
2.             หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.1      หน่วยสร้างนามวลี  ตัวกำหนด (Determiner)+นาม (อังกฤษ)  vs.  นาม (ไทย)
             นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับและเป็นเอกพจน์  เช่น  a  cat,  an  apple,  the  man,  the  house  เป็นต้น
2.2      หน่วยสร้างนามวลี  ส่วนขยาย+ส่วนหลัก (อังกฤษ)  vs.  ส่วนหลัก+ส่วนขยาย (ไทย)
             ในหน่วยสร้างนามวลี  ภาษาอังกฤษวางส่วยขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก  ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม  เวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย  ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช้ได้
2.3      หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive  constructions)
              ดังที่ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างเรื่องวาจกในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ  ผู้แปลจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป  ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด  และมีแบบเดียว  คือ  ประธาน/ผู้รับ  การกระทำ+กริยา-verb  to  be  +past  participle  +  (by+นามวลี/ผู้กระทำ) 
2.4      หน่วยสร้างประโยคเน้น  subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น  topic  (ไทย)
                ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น  topic  ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ  ซึ่งเป็นภาษาเน้น  subject 
2.5      หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย  (serial  verb  construction)

                 หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปลได้แก่  หน่วยสร้างกริยาเรียง  ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาวางข้างหน้า